จิตร ภูมิศักดิ์
จิตร ภูมิศักดิ์

จิตร ภูมิศักดิ์

จิตร ภูมิศักดิ์ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย จิตรเป็นนักวิชาการคนแรก ๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด[1] ผลงาน 3 รายการของเขาได้รับยกย่องเป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่านจิตรเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2509 หลังเข้าร่วมต่อต้านการปกครองของเผด็จการทหาร โดยถูกตัวแทนเผด็จการคือ"กำนันแหลม"และพวกอาสาสมัครฝั่งตรงข้ามและเหล่าทหารตำรวจล้อมยิง

จิตร ภูมิศักดิ์

อาชีพ นักเขียน นักประวัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ นักคิด กวี นักกิจกรรม
พรรคการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
เกิด สมจิตร ภูมิศักดิ์
25 กันยายน พ.ศ. 2473
จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศสยาม
สถาบันการศึกษาสูงสุด คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานเด่น
บิดามารดา ศิริ ภูมิศักดิ์
แสงเงิน ฉายาวงศ์
สาเหตุเสียชีวิต ถูกยิง
เสียชีวิต 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 (35 ปี)
จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย

ใกล้เคียง

จิตรพล โพธิวิหค จิตร ภูมิศักดิ์ จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี จิตรฉรีญา บุญธรรม จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์ จิตรกรรมบารอกแบบเฟลมิช จิตรกรรม จิตรคุปต์ สุนทรศิลป์ชัย จิตรกรรมไทยประเพณี